วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ย้อนรอย สงครามอิรัก-อิหร่าน ค.ศ. 1980 - 1988




ตะวันออกกลางนับเป็นดินแดนภูมิภาคหนึ่งที่เกิดปัญหาความขัดแย้ง ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของโลกอย่างต่อเนื่อง ทำให้สหรัฐฯ และประเทศมหาอำนาจตะวันตก พยายามเข้าไปมีบทบาทในการแก้ไขปัญหา ซึ่งรวมถึงการเข้าไปแสวงประโยชน์จากทรัพยากรน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของโลก หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สหรัฐฯได้เข้าไปมีบทบาทด้านการทหารกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้มากขึ้น เช่นในปี ๒๕๒๒ ได้สนับสนุนประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซน ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำอิรัก เพื่อคานอำนาจโคไมนีของอิหร่าน จนเกิดสงครามระหว่างอิรักกับ อิหร่าน ในปี ๒๕๒๓ และเป็นผลทำให้อิรักมีศักยภาพทางทหารสูงขึ้น และมุ่งพัฒนากองทัพ และเทคโนโลยีทางทหารอย่างต่อเนื่อง


สงครามอิหร่าน-อิรัก เป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างอิหร่าน นำโดยอะญาตุลลอฮ์ โคไมนี‎ กับอิรัก นำโดยซัดดัม ฮุสเซน กินระยะเวลายืดเยื้อถึง 8 ปี ระหว่างเดือนกันยายนพ.ศ. 2523 ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2531 เกิดขึ้นหลังจากกองทัพอิรักซึ่งมีกำลังเข้มแข็งกว่า โดยได้รับความสนับสนุนเป็นทางลับจากสหรัฐอเมริกา ละเมิดพรมแดนระหว่างทั้งสองประเทศ ภายหลังการขึ้นสู่อำนาจของอะญาตุลลอฮ์ โคไมนี‎ ซึ่งโค่นล้มพระเจ้าชาร์มูฮัมหมัด เรซา ปาฮ์เลวี ผู้ได้รับความสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ได้ไม่นาน
สงครามนี้ เดิมเป็นที่รู้จักในชื่อ สงครามอ่าวเปอร์เซีย ต่อมาชื่อนี้ได้ใช้เรียกสงครามอิรัก-คูเวต ระหว่างปี พ.ศ. 2533-35 แทน
สงครามครั้งนี้ มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บฝ่ายอิหร่าน ระหว่าง 750,000-1,000,000 คน ฝ่ายอิรักประมาณ 375,000-400,000 คน

------------------------------------------------------------------
ผู้นำของอิหร่าน

อายะตุลลอฮ์ โคมัยนี - (24 กันยายน ค.ศ. 1902 - 3 มิถุนายน ค.ศ. 1989) อดีตผู้นำสูงสุดของอิหร่าน ผู้ทำการล้มล้างอำนาจของพระเจ้าชาร์มูฮัมหมัด เรซา ปาฮ์เลวี ของอิหร่านซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2523 ประกาศการปฏิวัติอิสลาม และประกาศสงครามอิหร่าน-อิรัก



"ประชาชาติของเราคือประชาชาติอิสลาม และบรรดาผู้ถูกกดขี่ของโลกมีความภาคภูมิใจต่อการที่ศัตรูของพวกเขา ซึ่งก็คือศัตรูของพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ศัตรูของคัมภีร์อัลกุรอานและของอิสลาม พวกเขาเป็นสัตว์ร้ายที่จะไม่ละมือจากการก่ออาชญากรรมและการทรยศหักหลังทุกรูปแบบ เพื่อที่จะไปให้ถึงยังเป้าหมายต่างๆ อันชั่วร้ายของตน และเพื่อจะไปถึงยังความเป็นผู้นำและความโลภอันต่ำทรามของตน พวกเขาไม่รู้จักมิตรและศัตรู และในส่วนยอดของพวกเขาคืออเมริกาผู้ก่อการร้ายโดยสันดาน เป็นรัฐบาลซึ่งได้ก่อไฟทั่วทุกมุมโลก และพันธมิตรของเขาคือลัทธิไซออนิสต์สากล เพื่อจะไปให้ถึงความโลภหลงต่างๆ ของตนนั้น พวกเขาได้ประกอบอาชญากรรมทั้งหลายที่แม้แต่ปากกาก็ละอายในจากการที่จะเขียนถึงมัน และปากก็รู้สึกละอายจากการพูดถึงมัน ความเพ้อฝันที่โฉดเขลาของพวกเขาในเรื่องของ "มหานครอิสราเอล"ได้ชักนำพวกเขาไปสู่อาชญากรรมทุกรูปแบบ"


----------------------------------------------------------------


ผู้นำของอิรัก

ประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซน เกิดที่เมืองกีตริท อยู่ห่างจากกรุงแบกแดด ทางตะวันตกเฉียงเหนือราว ๑๐๐ ไมล์ ครอบครัวเป็นชาวนา เคยเข้ารับราชการศึกษาด้านกฎหมายที่ไคโรประเทศอียิปต์ เมื่ออายุ ๒๐ ปี ได้สมัครเข้าร่วมกับพรรคบาธ ซึ่งเป็นพรรคชาตินิยมอาหรับ และเรืองอำนาจอยู่ในขณะนั้น ในช่วงที่เป็นรองประธานาธิบดี ได้เริ่มตั้งองค์กรตำรวจลับขึ้นมาเพื่อกวาดล้างผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาล องค์กรตำรวจลับจึงเป็นเสมือนฐานอำนาจของซัดดัม ทำให้เขาเป็นผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดในอิรัก ต่อมาในปี ๒๕๒๒ ก็ได้ตั้งตนเป็นประธานาธิบดี ขึ้นปกครองประเทศแบบเผด็จการ

           ซัดดัม เคยเป็นผู้นำพรรคบะอัธ พรรคการเมืองหัวปฏิวัติของอิรัก ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มลัทธินิยมรวมชาติอาหรับโดยไม่อ้างอิงกับศาสนา การปรับระบบเศรษฐกิจให้ทันสมัย และระบอบสังคมนิยม ซัดดัม ได้มีบทบาทสำคัญในการก่อรัฐประหารในปีพ.ศ. 2511 ที่ทำให้พรรคบะอัธก้าวขึ้นสู่อำนาจในระยะยาว ในฐานะของรองประธานาธิบดี โดยมีนายพลอะฮ์มัด บะกัร ลูกพี่ลูกน้องของเขาที่มีสุขภาพอ่อนแอดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ซัดดัมจึงได้กุมอำนาจในการจัดการปัญหาข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลกับกองทัพ ในช่วงเวลาที่กลุ่มการเมืองต่าง ๆ ถูกมองว่าสามารถโค่นล้มรัฐบาลได้ทุกเมื่อ โดยซัดดัมได้จัดตั้งกองกำลังรักษาความมั่นคง เพื่ออุดหนุนอำนาจของเขาในการควบคุมรัฐบาลอิรักไว้ ในช่วงคริสตทศวรรษ ที่ 70 ราคาน้ำมันปิโตรเลียมที่พุ่งสูงขึ้นได้ช่วยให้เศรษฐกิจอิรักเติบโตขึ้นเป็นอย่างมากและในอัตราที่สม่ำเสมอ

 




--------------------------------------------